Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

5 Mux ทีวีดิจิทัลจับมือตั้ง “ชมรมผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ระบบดิจิทัล” ลดอำนาจต่อรองจากช่องทีวี

ผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิทัล 4 องค์กร ได้ร่วมกันตั้ง “ชมรมผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ระบบดิจิทัล(ชคท.)” ขึ้น เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพ แลกเปลี่ยนความร่วมมือทางเทคนิคและพัฒนาคุณภาพการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ระบบดิจิทัลร่วมกันให้มีประสิทธิภาพ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิทัล 4 องค์กร ประกอบด้วย สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก,กรมประชาสัมพันธ์, องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย และบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกันตั้ง “ชมรมผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ระบบดิจิทัล(ชคท.)”ขึ้น เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพ แลกเปลี่ยนความร่วมมือทางเทคนิคและพัฒนาคุณภาพการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ระบบดิจิทัลร่วมกันให้มีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตามจากสภาพอุตสาหกรรมธุรกิจดิจิทัลในปัจจุบันทำให้เกิดสภาวะโครงข่ายฯ เกินความต้องการ(Over Supply) เนื่องจาก กสทช. ออกใบอนุญาตไม่เป็นไปตามแผน โดยออกใบอนุญาตผู้ให้บริการโครงข่ายจำนวน 5 โครงข่าย (5MUX) ซึ่งมีจำนวน 38 ช่องสัญญาณ แต่ออกใบอนุญาตฯ ผู้ให้บริการช่องรายการจำนวน 26 ช่องรายการ ทำให้จำนวนช่องสัญญาณมีเกินกว่าช่องรายการจำนวน 12 ช่องสัญญาณ และเกิดอำนาจต่อรองจากผู้เช่า เช่น ผู้ให้บริการช่องรายการขอลดอัตราค่าเช่า การชำระค่าเช่าล่าช้า มีแนวโน้มการไม่จ่ายค่าเช่าและย้ายไปเช่าโครงข่ายอื่น ส่งผลกระทบกับการดำเนินงานของผู้ให้บริการโครงข่ายเรื่องเงินทุนหมุนเวียนและภาระหนี้สิน

โดยชมรมฯมีเรื่องเร่งด่วนที่จะเร่งดำเนินการ คือ การแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางเทคนิคและพัฒนาคุณภาพการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ระบบดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะกำหนดแนวทางและการบริหารจัดการโครงข่ายโทรทัศน์ระบบดิจิทัลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนี้

  • แนวทางระยะสั้น

ผู้ให้บริการโครงข่ายฯ จะร่วมกันพิจารณาและหาแนวทางแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว  เช่น แนวทางการบริหารต้นทุนร่วมกัน ,การกำหนดมาตรฐานของราคาค่าบริการ , การกำกับดูแลกันเอง การเจรจาและให้คำปรึกษากับผู้เช่าใช้บริการโครงข่ายฯ

  • แนวทางระยะกลาง

เป็นแนวทางการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ร่วมกัน 3 ฝ่าย ทั้งผู้ให้บริการโครงข่ายฯ , กสทช, และรัฐบาล เพื่อการแก้ปัญหาผลกระทบของทรัพย์สินรัฐที่รับภาระแทน กสทช ฯ เช่น โครงการแก้ปัญหาและเยียวยาจำนวนช่องรายการที่ว่างอยู่ในโครงข่าย ซึ่งเกิดขึ้นตามแผนแม่บทและข้อบังคับของ กสทช

  • แนวทางระยะยาว

เป็นการเสนอแนวทางการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบต่อผู้ให้บริการโครงข่ายฯ จากสถานการณ์และแนวโน้มธุรกิจสื่อโทรทัศน์ในปัจจุบันต่อรัฐบาล หรือ กสทช.และกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เช่น การเสนอให้ กสทช.ดำเนินการ National Mux service center  ในการรวมโครงข่ายฯ ทั้งหมด เพื่อนำไปสู่บริหารจัดการหรือจัดตั้งเป็นโครงข่ายฯ การให้บริการแห่งชาติเพื่อให้ได้มาตรฐาน

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 14:37
เรวัต วรเกียรติ์สกุล

Author : เกาะติดข่าวเกี่ยวกับ Thailand Medical Hub News สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว ธุรกิจบริการสุขภาพ นวัตกรรม การเจรจาการค้าการลงทุน อุตสาหกรรมทางการแพทย์

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM