Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

สศอ. เผย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนสิงหาคม 2561 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index - MPI)  ประจำเดือนสิงหาคม 2561 ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 16

โดย 8 เดือนแรกของปี 2561 MPI ขยายตัวร้อยละ 3.6 (8 เดือนแรกปี 2560 ขยายตัวร้อยละ 1.5) อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนสิงหาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 65.87 โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลบวกในเดือนสิงหาคม 2561 ได้แก่ น้ำตาลทราย ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์  เครื่องปรับอากาศ น้ำมันปิโตรเลียม และเภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ทางยา

อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลบวกต่อดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ประจำเดือนสิงหาคม ได้แก่

น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 91.12  จากผลผลิตอ้อยในปีนี้มีมาก ทำให้มีการแปรสภาพน้ำตาลทรายดิบเป็นน้ำตาลทรายขาวและขาวบริสุทธิ์มีมากกว่าปีก่อน

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวร้อยละ 12.39 ตามความต้องการของตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โลก ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในทุกกลุ่มสินค้าโดยเฉพาะจากกลุ่มสินค้าหลัก ได้แก่ PCBA และ otherintegrated circuits (Ic) 

เครื่องปรับอากาศ ขยายตัวร้อยละ 32.33 จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยีสูงเพื่อขยายฐานลูกค้าในประเทศและการส่งออกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำไปติดตั้งตามอาคารต่างๆ ในการรองรับกีฬาโอลิมปิกรวมถึงการขยายตลาดใหม่ที่อินเดีย

น้ำมันปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 7.43 ตามทิศทางเศรษฐกิจที่เติบโตต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อการขนส่งเดินทางเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในสินค้าน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 น้ำมันดีเซล รวมถึงการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นจากน้ำมันเครื่องบิน

เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ทางยา ขยายตัวร้อยละ 24.04 เนื่องจากมีการเพิ่มกำลังการผลิตตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา เพื่อรองรับการขยายตลาดในประเทศและตลาดส่งออก  

สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมสำคัญในไตรมาส 4 ปี 2561  เช่น

อุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าขยายตัวร้อยละ 7.4 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเศรษฐกิจไทยที่คาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผลผลิตสินค้าเกษตรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าหลักของไทยอย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น และ CLMV รวมทั้งการขยายตลาดใหม่เพิ่มขึ้น อาทิ อาเซียน แอฟริกา และตะวันออกกลาง

อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง คาดว่าการผลิตยางรถยนต์ขยายตัวร้อยละ 1.15 สำหรับถุงมือยาง/ถุงมือตรวจ จะขยายตัวร้อยละ 3.80 ตามแนวโน้มความต้องการใช้ที่สูงขึ้น

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า คาดว่าขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าจะขยายตัวไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ร้อยละ 1.5 และการบริโภคในประเทศมีปริมาณ 4.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่คาดการณ์ว่าจะผลิตเพิ่มขึ้น ทั้งอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของภาครัฐในช่วงปลายปี

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและการใช้กำลังการผลิต ปี 2560 – 2561 

Index

2560

2561

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

ม.ค.

ก.พ.

มี.ค.

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

107.61

112.30

114.12

108.37

115.44

111.70

117.30

117.23

129.48

102.40

117.50

116.20

112.91

113.04

อัตราการเปลี่ยนแปลง

(MOM) %

-2.76

4.36

1.62

-5.04

6.53

-3.24

5.01

-0.06

10.45

-20.92

14.74

-1.10

-2.83

0.11

อัตราการเปลี่ยนแปลง

(YOY) %

3.97

5.63

5.34

1.02

6.29

5.80

4.70

4.63

3.17

3.10

2.87

5.01

4.93

0.66

อัตราการใช้

กำลังการผลิต

64.89

67.87

68.41

65.18

69.11

67.77

70.55

70.53

76.30

60.94

69.82

69.06

66.88

65.87

ที่มา: กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม  ข้อมูล ณ วันที่ 25  กันยายน  2561

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 15:43
นิชาภา โชติวัฒนทวีชัย

Author : เกาะติดข่าวจากภาครัฐ, ข่าวจากหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจ, ข่าวประมูล, ข่าวเมกะโปรเจค, ข่าวจากองค์กรเอกชน, ข่าวสิ่งแวดล้อม, ข่าวแวดวงรักษาความปลอดภัย ฯลฯ

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM