Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

สตาร์ทอัพ หนทางสู่การยกระดับการแข่งขันกับอุตสาหกรรมต่างประเทศ

เกินกว่าครึ่งหนึ่งของอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ให้ความสำคัญกับความเป็นระเบียบ อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ทำให้เกิดข้อเสียอย่างหนึ่ง คือ การปฏิเสธความเปลี่ยนแปลง

ซึ่งวัฒนธรรมเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ผลักดันให้บุคลากรผู้มีความสามารถหลายรายถอยห่างจากองค์กร ส่งผลให้ความสามารถในการคิดค้นลดลง กระทบถึงความสามารถในการแข่งขันกับต่างชาติ ซึ่งการจะเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ได้ สิ่งสำคัญคือการปรับเปลี่ยนแนวคิด เร่งสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพ เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา

ส่งเสริมสตาร์ทอัพ เพื่อนวัตกรรมที่ก้าวหน้า

หากเทียบกับประเทศอื่นแล้ว พบว่าเมื่อปี 2016 ประเทศแถบยุโรปมีอัตราการก่อตั้งธุรกิจใหม่เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 11% ในทางกลับกัน ประเทศญี่ปุ่นมีเพียง 5% เท่านั้น นอกจากนี้ ดัชนีกิจกรรมของผู้ประกอบการซึ่งรวบรวมตัวเลขจากนานาชาติมาคำนวณ พบว่าในประเทศที่มีบทบาทด้านอุตสาหกรรมนั้น มีผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่างการก่อตั้งธุรกิจสตาร์ทอัพ หรือมีแนวโน้มก่อตั้งธุรกิจสตาร์ทอัพเฉลี่ยแล้วมากถึง 9% ในขณะที่ญี่ปุ่นมีเพียง 5% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
 
ด้วยเหตุนี้เอง ประเทศญี่ปุ่นจึงอยู่ในสภาวะที่สามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ได้ยาก ซึ่งหมายความว่า ความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรมจะต่ำลงในอนาคตหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น


 
รายใหม่ที่โดดเด่น
 
ปัจจุบัน “GAFA” กลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพ 4 รายใหญ่ในประเทศสหรัฐฯ ประกอบด้วย Google, Apple, Facebook, และ Amazon คือกลุ่มธุรกิจที่มีมูลค่าในตลาดหุ้นอยู่ในระดับท็อป ส่วนฝรั่งเศสมี “French Tech” การรวมตัวของกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพภายใต้การนำของรัฐบาล ส่งผลให้ประเทศฝรั่งเศสมีอัตราการก่อตั้งธุรกิจใหม่สูงถึง 12% ในทางกลับกัน ธุรกิจในประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีมูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) สูงส่วนมาก คือ ธุรกิจรายเก่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ โลหะ การสื่อสาร และอื่น ๆ และมี “Unicorn” ธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์เพียงไม่กี่รายเท่านั้น


 
ฮีโร่
 
ปัจจุบัน รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตระหนักถึงความสำคัญของธุรกิจสตาร์ทอัพ และเร่งรัดมาตรการส่งเสริมเพื่อเพิ่มจำนวนธุรกิจเหล่านี้ให้มากขึ้น โดยเมื่อเดือนมิถุนายน รัฐบาลญี่ปุ่นได้เริ่มใช้มาตรการ “J-Startup” การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ รวมไปถึงการจับคู่ทางธุรกิจให้กับธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีแนวโน้มที่ดีจำนวน 92 ราย ซึ่ง METI ได้แสดงความเห็นว่า “เป็นการผลักดันให้ธุรกิจเหล่านี้ก้าวขึ้นเป็นแบรนด์ระดับสากล เพื่อให้กลายเป็น “ฮีโร่” และสร้างแรงจูงใจให้กับธุรกิจสตาร์ทอัพรายอื่นต่อไป” ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าจะผลักดันธุรกิจเหล่านี้ให้กลายเป็น “Unicorn” 20 ราย ภายในปี 2023

 

สนับสนุนสู่การเปลี่ยนแปลง

อย่างไรก็ตาม มีอุปสรรคจำนวนมาก ก่อนที่ธุรกิจสตาร์ทอัพจะก้าวไปถึงระดับที่ส่งเสริมการแข่งขันอุตสาหกรรมกับประเทศอื่นได้ ซึ่งการจะก้าวข้ามในจุดนี้ไป นอกจากการสนับสนุนจากรัฐบาลแล้ว ยังต้องการทั้งช่องทางการขายและพันธมิตรรายใหญ่ อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว ธุรกิจรายใหญ่มักไม่ให้ความสำคัญกับธุรกิจสตาร์ทอัพแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้เอง แม้ในปัจจุบันจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงบ้างแล้ว แต่ธุรกิจเหล่านี้ก็จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนอีกมาก จึงจะสามารถเติบโตขึ้นไปได้

 

ที่มา : Nikkan Kogyo Shimbun

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Monday, 15 October 2018 06:14

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM