Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha
THAI AAJ-Mechanics-Strip-Head

Machine Tools ค่ายญี่ปุ่น ถกทิศทางอุตสาหกรรมการผลิตจาก IMTS 2018

“IMTS 2018” หนึ่งในอีเวนท์ใหญ่ที่สุดในวงการอุตสาหกรรม Machine Tools ที่ได้จัดเสร็จสิ้นไปแล้ว ภายในงานได้จัดแสดงเทคโนโลยี IoT, หุ่นยนต์, ระบบอัตโนมัติ, และเทคโนโลยีใหม่อื่น ๆ อย่าง Additive Manufacturing

ซึ่งประธาน และรองประธานแห่ง JMTBA (Japan Machine Tool Builders' Association) ได้ร่วมแสดงความเห็นต่อประเด็นเหล่านี้ไว้ดังนี้

กุญแจสำคัญคือการวางระบบ

โดย Mr. Yukio Iimura ประธาน JMTBA และ CEO บริษัท Toshiba Machine

คิดอย่างไรกับอุตสาหกรรมปัจจุบันในประเทศสหรัฐอเมริกา

Mr. Yukio Iimura - “สหรัฐฯ ก็เหมือนกับญี่ปุ่น คือ มีความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยหุ่นยนต์สูง ทำให้ผู้ผลิตที่มีศักยภาพในการติดตั้งระบบได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก อีกทั้งด้วยค่าแรงที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนส่งผลให้การรวบรวมบุคลากรทำได้ยากขึ้นนั้น ทำให้เครื่องจักรถูกพัฒนาเพื่อใช้กับระบบอัตโนมัติมากขึ้น ซึ่งผู้ผลิตที่สามารถเสนอระบบให้กับลูกค้าได้จะมีข้อได้เปรียบ”

Mr. Masahiko Mori - “หากใช้ระบบอัตโนมัติเข้าช่วย ก็จะทำให้เครื่องจักรสามารถทำงาน “ล่วงเวลา“ ได้อีก 2 ชม. ส่งผลให้สามารถทำกำไรได้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้เองทำให้หุ่นยนต์ และ Pallet Handling ได้รับความนิยมในสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก ส่วนเทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อการตรวจสอบการผลิตก็แพร่หลายมากขึ้น สอดคล้องกับการที่พนักงานมีจำนวนน้อยลง”

ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์จะพัฒนาต่อไป โดย Mr. Tomohisa Yamasaki รองประธาน JMTฺBA และประธานบริษัท Yamazaki Mazak​

Mr. Tomohisa Yamasaki - “ปัจจุบันอัตราการว่างงานในสหรัฐฯ ต่ำกว่าเมื่อครั้งปี 2000 เป็นอย่างมาก ปัญหาการขาดแคลนแรงงานทวีความรุนแรงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ มีการใช้หุ่นยนต์มาแทนที่คนงานในอัตราส่วนที่น้อยกว่าเยอรมนีและญี่ปุ่น ซึ่งหากนโยบายการลงทุนภายในประเทศสหรัฐฯ ยังเดินหน้าต่อไปเช่นนี้แล้ว ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ก็จะมีการพัฒนาอย่างแน่นอน” 

Mr. Kenji Yamaguchi - “จากที่นับจำนวนหุ่นยนต์ในงาน IMTS ปีนี้มีมากกว่า 500 ตัว รวมถึงบูธของ SIer อีกจำนวนมาก ซึ่ง SIer หลายรายในสหรัฐฯ มีความเชี่ยวชาญด้าน Handling เป็นพิเศษ ผมจึงเห็นว่ามีความเป็นไปได้อย่างยิ่งที่สหรัฐฯ จะเร่งตัวเองจนตามญี่ปุ่นทันหรือกระทั่งแซงหน้าไปได้ นอกจากนี้ จากทิศทางในตอนนี้พบว่า การพัฒนาหุ่นยนต์ให้ใช้งานง่ายขึ้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก รวมไปถึงการพัฒนา Machine Tools ให้ทำงานกับหุ่นยนต์ได้ง่าย”

มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ Additive Manufacturing​

Mr. Yukio Iimura - “ดูเหมือนว่าทั้งแบบ Power Bed และ Deposition จะพัฒนาให้ใกล้ใช้งานได้จริงขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว”

Mr. Tomohisa Yamasaki - “ภายในงาน IMTS มีประมาณ 40 บริษัทในโซนของ Additive Manufacturing ซึ่งเป็นการยืนยันว่าเทคโนโลยีนี้ไม่ใช้เพียงแค่กระแสชั่วคราว นอกจากนี้ยังมีวิธีขึ้นรูป และวัสดุที่รองรับหลากหลายมากขึ้น ตอกย้ำว่าเทคโนโลยีนี้จะมีวิวัฒนาการต่อไปอย่างแน่นอน”

จุดน่าสนใจในงานปีนี้คือการที่บริษัท IT อย่าง Hewlett-Packard ออกบูธในโซน Additive Manufacturing เกี่ยวกับเรื่องนี้มีความเห็นอย่างไรครับ​

Mr. Tomohisa Yamasaki - “เป็นเรื่องที่น่าสนใจทีเดียวครับ ทั้ง Microsoft ทั้ง SAP เองก็มาจากอุตสาหกรรม IT เช่นกัน ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม (Enterprise Resource Planning: ERP) ที่เพิ่มขึ้น หรือก็คือ โรงงานต้องการ IT ผู้ผลิตเครื่องจักรต้องการ OT (Operational Technology) และด้วยเหตุนี้เอง อุตสาหกรรม Machine Tools และ IT จะมีความเกี่ยวข้องกันมากขึ้นในอนาคต"

ใหญ่สุดเท่าที่จัดมา โดย Mr. Masayoshi Amano กรรมการผู้จัดการ JMTBA​

Mr. Masayoshi Amano - “งาน IMTS ปีนี้ใหญ่กว่าทุกปีที่จัดมา ทั้งผู้จัดแสดง ผู้เข้าชม และประเทศผู้เข้าชม ซึ่งเป็นปีแรกที่ใช้พื้นที่การจัดงานทั้งอาคาร โดยเป็นผลจากแนวคิดการจัดงานที่ปีนี้เน้นไปที่ความเป็น “งานจัดแสดงเทคโนโลยี” อย่างชัดเจน ซึ่งผมมีความเห็นว่า ในยุคที่อุตสาหกรรมกำลังกลายเป็นดิจิตอลเช่นนี้ ผู้ที่จะกลายเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีก็คือซิลิคอนวัลเล่ย์”

ใช้เทคโนโลยีจากซิลิคอนวัลเล่ย์ โดย Mr. Masahiko Mori รองประธาน JMTBA และประธานบริษัท DMG Mori​

Mr. Masahiko Mori - “ในงานมีบูธจากซิลิคอนวัลเล่ย์เป็นจำนวนมากเช่นกัน ซึ่งการที่บริษัทในเครือ IT ให้ความสนใจในอุตสาหกรรมการผลิตเช่นนี้ นับว่าเป็นเรื่องน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง และเราก็อยากจะนำเทคโนโลยีจากทางนั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อเราเช่นกัน”

เน้นเรื่องประสิทธิภาพด้านต้นทุน โดย Mr. Kenji Yamaguchi รองประธาน JMTBA และประธานบริษัท Fanuc​

มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับพัฒนาการของ IoT และ AI บ้างครับ

Mr. Tomohisa Yamasaki - “เห็นได้ชัดว่างานในปีนี้มีผู้ออกบูธที่แสดงให้เห็นว่า “เทคโนโลยีของตนทำอะไรได้” มากกว่าแค่ “การเชื่อมต่อ” อย่างเมื่อครั้งปีที่แล้ว ซึ่งบริษัทเราเองก็ได้เริ่มให้บริการแพล็ตฟอร์ม “FIELD system” แล้วเช่นกัน แม้จะยังมีผู้ใช้น้อยรายและยังต้องทดลองอะไรอีกมาก แต่หากสามารถแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพด้านต้นทุนแล้วก็จะสามารถดึงดูดลูกค้าได้ อีกทั้งหากเราเข้าใจความต้องการของลูกค้า เราจะสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อลูกค้ารายนั้นได้ด้วยการใช้ข้อมูลที่ลูกค้ามีอยู่อีกด้วย”

Mr. Yukio Iimura - “ผมมองว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ยังมีราคาสูง และเป็นเรื่องยากที่ SMEs จะจัดหา การจะทำให้ธุรกิจเหล่านี้สนใจได้จึงต้องเน้นไปที่การแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นแค่ไหน และทำง่ายขึ้นอย่างไร”

ว่าด้วยสถานการณ์อุตสาหกรรม Machine Tools มีความเห็นอย่างไรกับแนวคิดการลงทุนของธุรกิจในประเทศสหรัฐฯ บ้างครับ​

Mr. Tomohisa Yamasaki - “ยังไม่มีการยืนยันก็จริง แต่ทางผู้จัดงานแสดงความเห็นว่าธุรกิจในสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในช่วงไตรมาสแรกปี 2019 ซึ่งคาดการณ์ว่าอาจมีสาเหตุหลักมาจากสงครามการค้า”

Mr. Masahiko Mori - “ดูเหมือนการลงทุนในปี 2018 นี้จะดูอยู่ตัวมากกว่าในช่วงปี 2017 ที่ธุรกิจหลายรายต่างเร่งลงทุนเป็นจำนวนมาก”

มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับผู้เข้าชมงานในปีนี้บ้างครับ

Mr. Masahiko Mori - “ผู้เข้าชมในปีนี้กว่า 70% เป็น SME ซึ่งเป็นการตอกย้ำถึงยุคสมัยที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป”

Mr. Tomohisa Yamasaki - “อาจเป็นเพราะหลายคนเลือกหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตแทนก็ได้นะครับ ซึ่งหากหาข้อมูลแล้วพบว่ามีบริษัทที่ตนต้องการติดต่อก็จะเข้ามาติดต่อในงานโดยตรง ซึ่งเพราะแบบนี้เอง ผมจึงมองว่าการ PR ผ่านอินเตอร์เน็ตเองก็จะมีความสำคัญมากขึ้นไปอีก”

Mr. Masahiko Mori - “อาจจะเป็นเช่นนั้นจริง ๆ ครับ หาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต แล้วมาที่งานเพื่อสัมผัสจริง”

Mr. Yukio Iimura - “ปัจจุบันในสหรัฐฯ กำลังขาดแคลนผู้ควบคุมเครื่องจักรเป็นอย่างมาก จนมีการพูดกันว่าอยากซื้อเครื่องจักรพร้อมพนักงานเลยทีเดียว ซึ่งด้วยเหตุนี้เอง ทำให้เทคโนโลยีสำหรับควบคุมเครื่องไม่ใช่ออปชันเสริมแต่กลายเป็นสิ่งจำเป็นไปแล้ว และภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ เอง ก็มีแนวคิดในการพัฒนาเครื่องจักรให้ควบคุมง่ายขึ้นไปอีก เพื่อใช้เป็นทางผ่านในการดึงดูดคนเข้ามาในอุตสาหกรรม เช่น ใช้โปรแกรม CAD ดึงดูดคนชอบเล่นเกมมาทำงาน ซึ่งอาจต่อยอดให้สามารถทำงานกับ Machine Tools อื่น ๆ ได้ต่อไปด้วย”

Mr.Tomohisa Yamasaki - “ผมเห็นด้วยกับความคิดเช่นนี้ครับ ในยุคขาดแคลนแรงงานเช่นนี้ คนที่จะทำงานกับเครื่องจักรได้นั้นจะไม่จำกัดอยู่แค่คนจบสายวิทย์อีกต่อไป และหากสามารถทำให้เด็ก ๆ สนใจเรื่องเหล่านี้ได้ ก็จะสามารถช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคตได้อีกด้วย”

ที่มา : M Report

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Monday, 15 October 2018 05:14

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

AWC เผย Q3 ลงทุน 1 หมื่นล้าน กำไรพุ่ง 1.13 พันล้าน เชื่อมั่นพลังขับเคลื่อนความยั่งยืนกับพันธมิตรทุกภาคส่วน ร่วมสร้างไทยให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM