Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

ซินโครตรอน เตรียมผลิตเครื่องเพาะเลี้ยง “ถั่งเช่า” คุณภาพสูง

เกษตรกรไทยยิ้มรับปีใหม่ !  ซินโครตรอน พัฒนาวิธีเพาะเลี้ยง “ถั่งเช่า” คุณภาพสูงสำเร็จ เพิ่มรายได้เกษตรกร  เผยผลิตเครื่องเพาะฯ ต้นแบบสำเร็จ  เตรียมมอบให้เกษตรกรใช้ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ระบุแสงซินโครตรอน ตรวจพบสาระสำคัญใน “ถั่งเช่า” มีประโยชน์เพียบ  เดินหน้าพัฒนาระบบควบคุมอุณหภูมิให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ดร.รุ่งเรือง พัฒนากุล นักวิทยาศาสตร์ระบบลำเลียงแสง สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน  เปิดเผยว่า “ถั่งเช่า” เป็นสมุนไพรที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศจีนนานนับศตวรรษ มีแหล่งกำเนิดมาจากประเทศทิเบต สรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงอวัยวะภายใน เช่น ปอด ตับ และไต นอกจากนี้ยังช่วยชะลอความแก่ชรา ลดคอเลสเตอรอล บรรเทาและรักษาอาการโรคหอบหืด เป็นต้น

ถั่งเช่าทิเบตเป็นที่ต้องการสูงในกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการอาหารเสริมสุขภาพ ประกอบกับเป็นของหายากจึงทำให้ถั่งเช่าทิเบตมีราคาแพง ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการหลายประเทศทำการเพาะเลี้ยงถั่งเช่าธรรมชาติสายพันธุ์อื่นๆ (มีมากกว่า 350 สายพันธุ์) เพื่อให้ได้สารสำคัญมาทดแทนแต่ยังคงคุณสมบัติการออกฤทธิ์ทางยาเช่นเดิม สำหรับในประเทศไทย

พบว่ามีบริษัท เซโก้ฟาร์ม และกลุ่มผู้ประกอบการ OLINTA จาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถเลี้ยงถั่งเช่าสีทอง จากด้วงสาคูที่เป็นวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนได้

ทั้งนี้ บริษัทเซโก้ ฟาร์ม หนึ่งในกลุ่มธุรกิจ SME ของประเทศไทย ผู้เลี้ยงและพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงถั่งเช่าสีทอง ได้เข้ามาหารือกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน  ถึงแนวทางการพัฒนากรรมวิธีในการเลี้ยงถั่งเช่าตามแนวคิด “Smart Farmer” ทำให้เกิดเป็นความร่วมมือระหว่างสองหน่วยงานภายใต้โครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้เข้ามาร่วมในโครงการดังกล่าว ซึ่งโครงการนี้มุ่งหวังให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการวิจัย พัฒนาและสร้างนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร โดยปัจจัยที่จะทำให้การขับเคลื่อนนี้ประสบผลสำเร็จคือ กลไกการสนับสนุนให้นักวิจัยในภาครัฐและเอกชนได้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

ดร.รุ่งเรือง กล่าวอีกว่า สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ร่วมกับ บริษัทเซโก้ ฟาร์ม พัฒนาระบบอัจฉริยะเพื่อควบคุม สภาพแวดล้อมการเพาะเลี้ยงถั่งเช่าสีทองให้ได้เหมาะสมที่สุด เพื่อให้ถั่งเช่าเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และอุดมไปด้วยสารอันเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งเป็นการช่วยพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในประเทศ


ถั่งเช่าสีทอง

นอกจากนี้ เมื่อทีมวิจัย นำถั่งเช่าที่เพาะเลี้ยงด้วยวิธีการดังกล่าว ไปวิเคราะห์สารสำคัญด้วยแสงซินโครตรอน พบว่า มีปริมาณสารคอร์ไดซิปิน และสารอะดีโนซีนสูงกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องตลาด ซึ่งสารอะดีโนซีน เป็นสารสำคัญที่มีอยู่ในถั่งเช่า มีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอล กระตุ้นการเผาผลาญ สร้างเสริมพละกำลัง และสร้างความกระปรี้กระเปร่าให้กับร่างกาย ส่วนสารคอร์ไดซิปิน มีบทบาทในการต้านมะเร็ง ปรับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ยับยั้งการเกิดและต้านสารอนุมูลอิสระ และช่วยป้องกันหลอดเลือดตีบ เพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนของเลือด

สำหรับวิธีการเลี้ยงถั่งเช่าแบบ Smart Farmer” ตามแนวคิดของบริษัทเซโก้ ฟาร์ม เป็นวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกรใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้อย่างดี รวมทั้งยังสร้างรายได้เสริมให้แก่ประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล นำพาประเทศสู่ Thailand 4.0 ได้อย่างแท้จริง

ตู้เพาะเลี้ยงถั่งเช่า
ตู้เพาะเลี้ยงถั่งเช่า

ดร.รุ่งเรือง กล่าวต่อว่า ล่าสุดทีมวิจัยได้ผลิตเครื่องเพาะถั่งเช่าอัตโนมัติต้นแบบออกมาแล้วมีลักษณะคล้ายตู้เย็น 2 ประตูมีความพิเศษคือควบคุมอุณหภูมิได้แม่นยำ และจะผลิตให้เกษตรกรเครือข่ายเพื่อใช้ในการเพาะเลี้ยงถั่งเช่าคุณภาพต่อไป โดยใช้งบประมาณ 60,000-70,000 บาท/ เครื่อง ซึ่งเป็นอีกนโยบายของกระทรวงฯ ที่จะมอบให้กับประชาชนชาวไทยเป็นของขวัญปีใหม่  2561 ด้วย คาดว่าจะส่งมอบให้เกษตรกรนำไปใช้ประมาณเดือน มี.ค.2561 นี้แน่นอน โดยขณะนี้ทีมวิจัยกำลังดำเนินการในเฟส 2 คือ การพัฒนาเครื่องเพาะถั่งเช่าให้มีประสิทธิภาพสูงสุดสามารถคอนโทรลได้ทั้งแสง อุณหภูมิ ความชื้น และระยะเวลาการเพาะเลี้ยง เพื่อสร้างมูลค่าให้แก่เกษตรกรต่อไป

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Saturday, 20 October 2018 12:48

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM