Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

ธนาคารโลกชี้ไทยอยู่ในกลุ่มประเทศมั่งคั่งอย่างก้าวหน้า (Progressive Prosperity)

ธนาคารโลกเปิดตัวรายงาน Riding the Wave, An East Asian Miracle for the 21st Century ที่นำเสนอความก้าวหน้าเรื่องการขจัดความยากจนและการก้าวเข้าสู่การพัฒนาแบบ “เติบโตอย่างทั่วถึง” (Inclusive Growth) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ณ โรงแรมสุโกศล กรุงเทพฯ

โดยธนาคารโลกได้ระบุว่า ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกลุ่มแรกคู่กับประเทศมาเลเซีย เรียกว่า "กลุ่มที่มีความมั่งคั่งอย่างก้าวหน้า" (The Progressive Prosperity Countries) เพราะไม่มีประชากรที่อยู่ในระดับยากจนค้นแค้น (Extreme Poor) แล้ว และมีจำนวนประชากรที่ยากจนปานกลาง (Moderate Poor) เพียงร้อยละ 0.8 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ในขณะที่มีจำนวนประชากรที่มีความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ (Economically Vulnerable) ร้อยละ 10.1 ประชากรที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (Economically Secure) ร้อยละ 53.6 และประชากรในระดับชนชั้นกลาง (Middle Class) ร้อยละ 53.4 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในอันดับสูงที่สุดในอาเซียนรองจากประเทศมาเลเซีย

 

กลุ่มประเทศต่อมา คือกลุ่มที่สามารถหลุดพ้นจากความยากจนเพื่อมุ่งสู่ความมั่งคั่งได้ (The Out-of-Poverty-into-Prosperity Countries) โดยรายงานฉบับนี้กล่าวว่าประเทศจีน, มองโกเลีย และเวียดนาม เป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่มนี้ เพราะอย่างน้อยสามารถสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ และกำลังอยู่ในกระบวนการเพิ่มจำนวนประชากรที่อยู่ในระดับชนชั้นกลาง

กลุ่มที่สาม ได้แก่ กลุ่มประเทศที่สามารถหลุดพ้นจากความยากจนข้นแค้น (The out-of-extreme-poverty countries) ได้ซึ่งได้แก่ประเทศกัมพูชา, อินโดนีเซีย, และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีอัตราความยากจนค้นแค้นที่ต่ำและมีจำนวนประชากรกลุ่มชนชั้นกลางอยู่บ้างเล็กน้อย

กลุ่มประเทศที่สี่ ได้แก่กลุ่มประเทศที่ยังอยู่ในความยากจน (The Lagging-Progress Countries) ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ ปาปัวนิวกินี โดยในสองประเทศนี้ยังคงมีประชากรที่ยากจนในระดับยากจนข้นแค้นอยู่จำนวนมาก

ส่วนกลุ่มประเทศสุดท้ายซึ่งรายงานฉบับนี้ไม่ได้นำมาประเมินนำเสนอ คือกลุ่มประเทศ The Pacific Islands เนื่องจากตั้งอยู่กันอย่างกระจัดกระจายและไม่สามารถใช้เกณฑ์ในการประเมินเดียวกันประเทศอื่น ๆ ได้

โดย ดร.แคทเธอลีนา เลเดอร์ชิ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก และนักวิจัย จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ หัวหน้าทีมวิจัยที่จัดทำรายงานฉบับนี้กล่าวว่า ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่สามารถดำเนินการขจัดความยากจนได้อย่างประสบความสำเร็จ โดยสามารถทำให้ประชากรกว่าร้อยละ 40 พ้นจากความยากจนได้ และมีประชากรถึง 2 ใน 3 ส่วนที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจแล้ว

ดร.แคทเธอลีนา ระบุว่า อย่างไรก็ตาม ประเทศเหล่านี้พึงตระหนักว่าปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในวันนี้ อาจไม่เพียงพอสำหรับการก้าวต่อไปอย่างมั่งคั่งและยั่งยืนสู่หนทางแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนบนพื้นฐานของการเติบโตอย่างทั่วถึง (Inclusive Growth)

ดร.แคทเธอลีนา กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภูมิภาคนี้ประสบความสำเร็จ คือการที่สามารถทำให้ประชากรที่ยากจนข้นแค้นและคนที่มีความยากจนปานกลางมีปริมาณลดลง, การลดจำนวนของประชากรที่มีความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและเพิ่มจำนวนประชากรที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเพิ่มจำนวนชนชั้นกลาง (ที่หมายรวมถึงชนชั้นกลางและผู้ที่มีฐานะร่ำรวย) ให้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ดร.แคทเธอลีนา ตั้งข้อสังเกตว่า ประเทศในภูมิภาคนี้อาจเผชิญปัญหาหรือความท้าทายร่วมที่สำคัญ 4 ประการได้แก่

1) มีความเหลื่อมล้ำเพิ่มมากขึ้น

2) ผลกระทบทางเศรษฐกิจเนื่องจากการค้าโลกที่ลดลง

3) การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

4) การเติบโตของสังคมเมืองซึ่งจะทำให้เกิดความท้าทายใหม่ ๆ หรือปัญหาใหม่ ๆ ที่ต้องมีวิธีบริหารจัดการแบบใหม่ให้เหมาะสมกับบริบทที่เกิดขึ้น

ดร.แคทเธอลีนา ได้แนะนำมาตรการสำคัญ 3 ประการเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ดังกล่าวได้แก่

1) การกำหนดนโยบายที่เหมาะสมตามกลุ่มเป้าหมาย เช่น การสร้างงาน สร้างสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดี ผ่านการให้การศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง เพื่อส่งเสริมให้เกิดความคล่องตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

2) สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจผ่านการให้ความช่วยเหลือทางด้านสังคมมากขึ้น เช่น การสร้างหลักประกันทางสังคม และการบริหารจัดการความเสี่ยงต่าง ๆ

3) การสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงาน หรือองค์กรต่าง ๆ ที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมเศรษฐกิจ, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารจัดการงบประมาณสาธารณะ

โดย ดร.แคทเธอลีนา กล่าวปิดท้ายว่า ประเทศในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ควรจะมียุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมแบบใหม่ที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาที่มั่งคั่ง เพื่อให้เกิดการพัฒนาแบบเติบโตไปด้วยกัน และลดความเหลื่อมล้ำโดยทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่งคั่งไปพร้อมกัน (Inclusive Prosperity)

ด้าน ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และ หัวหน้าโครงการพัฒนาตัวชี้วัดความยั่งยืนชุมชนมั่นพัฒนา โดย มูลนิธิมั่นพัฒนา แสดงความเห็นว่า แม้ขณะนี้ประเทศไทยจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความมั่งคั่งอย่างก้าวหน้าร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ตนคิดว่าไทยยังตามหลังมาเลเซียในหลายเรื่อง โดยเฉพาะปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำที่เรื้อรังมานาน โดยประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก และยังไม่ได้มีการลงทุนในเรื่องของการพัฒนาสังคม เท่าที่ควร เช่น ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการศึกษา ต่างจากประเทศเกาหลีใต้หรือไต้หวันที่ลงทุนด้านการศึกษาอย่างมาก ทำให้มีบุคลากรคุณภาพมากขึ้น ประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว และลดความเหลื่อมล้ำไปพร้อมกันได้

ดร.สมชัย ระบุว่า การกระจายอำนาจเป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับประเทศไทย เพราะหากสังเกตจากปัญหาความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา จะพบว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการที่อำนาจทางการเมืองมีศูนย์รวมอยู่ในกรุงเทพฯ หากมีการกระจายอำนาจออกไป ความขัดแย้งก็อาจลดลงตามไปด้วย ทำให้การพัฒนาท้องถิ่นเกิดประสิทธิภาพ เพราะสามารถตอบสนองความต้องการของคนในพื้นที่ได้มากขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างชนบทกับเมืองได้ และไทยไม่ควรเน้นไปที่อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเท่านั้น แต่ควรปรับกระบวนทัศน์ไปสู่อุตสาหกรรมบริการ เช่น การท่องเที่ยว ให้มากขึ้น โอกาสและสิ่งดี ๆ ก็จะกระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ในวงกว้างได้

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Sunday, 14 October 2018 13:21

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

AWC เผย Q3 ลงทุน 1 หมื่นล้าน กำไรพุ่ง 1.13 พันล้าน เชื่อมั่นพลังขับเคลื่อนความยั่งยืนกับพันธมิตรทุกภาคส่วน ร่วมสร้างไทยให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก

โครงการการพัฒนาระบบควบคุมการยิงเพื่อการดำรงสภาพยุทโรปกรณ์ ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40 มิลลิเมตร แอล 70

Double A เผยกำไรโตต่อเนื่อง 3 ไตรมาสแรก พุ่งขึ้นกว่า 2.5 เท่า เดินหน้าสู่ Net Zero ด้วย ESG ในปี 2050 วางโรดแมป ขับเคลื่อนธุรกิจ ลดโลกร้อน สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM