Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

โดย : ห้างหุ้นส่วนจำกัด กันติชา (KANTICHA LIMITED PARTNERSHIP. )

เสาเข็ม แบบที่ใช้การ ตอกลงไปในพื้นดิน เป็นรูปแบบของเสาเข็มที่มีคนนิยมใช้งานกันมากที่สุดแบบหนึ่ง เนื่องจากใช้งานง่าย ราคาไม่สูง และมีความแข็งแรง แต่อย่างไรก็ดี ในการเลือกใช้งานเสาเข็ม ก็มักพบคำถามอยู่บ่อยๆ เกี่ยวกับเรื่อง ความยาวของเสาเข็ม ที่เราควรจะเลือกมาใช้ ซึ่งโดยทั่วไปจะถามกันว่าควรจะตอก "เสาเข็มลึกเท่าไหร่ดี" เพราะเมื่อทราบระดับความลึก ก็จะสามารถนำมาประมาณขนาดความยาวของเสาเข็มที่เราจะเลือกสั่งหรือซื้อเพื่อนำมาใช้ตอกได้ ประเด็นนี้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด กันติชา ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการผลิตเสาเข็มและตอกจึงขอแนะนำดังนี้

"ก่อนจะตัดสินใจเลือกคำตอบที่เหมาะสมที่สุด เสาเข็มเป็นส่วนล่างสุดของโครงสร้างบ้าน (โดยทั่วไปมักเรียกรวมกับฐานรากว่าเป็นฐานรากแบบมีเสาเข็ม) ซึ่งทำหน้าที่รองรับน้ำหนักบ้านไว้ โดยปกติแล้วบ้านที่มีฐานรากที่วางอยู่บนดิน และไม่มีเสาเข็มรองรับน้ำหนักของบ้านเรียกว่าฐานราก แผ่ จะมีการทรุดตัวมากกว่าบ้านที่ใช้ฐานรากแบบมีเสาเข็มซึ่งจะช่วยทำให้เกิดแรงต้านน้ำหนักของบ้านเพื่อชะลอการทรุดตัวได้ดีกว่า เพราะมี "แรงต้าน" ที่มาจากชั้นดิน 2 ส่วนคือ

  • แรงเสียดทาน (หรือแรงยึดเหนี่ยว) ของดินชั้นบน (Friction) ส่วนใหญ่จะเป็นดินเหนียว ลองจินตนาการถึงการนำไม้ปักลงในดิน หากปักลึกลงไประดับหนึ่งจะเริ่มเกิดความฝืดกดลงได้ยากขึ้น นั่นเป็นเพราะไม้ถูกต้านด้วยแรงเสียดทานของดิน หลักการทำงานของเสาเข็ม ก็เช่นเดียวกันคือ จะพึ่งแรงเสียดทานของดินชั้นบนเป็นตัวพยุงรับน้ำหนักบ้านไม่ให้ทรุดตัวลง (ความเอียงเกิดจากการทรุดตัวของแต่ละฐานไม่เท่ากัน)
  • แรงต้านจากชั้นดินแข็ง (Bearing) กรณีเสาเข็มยาวลึกไปจนถึงชั้นดินแข็ง นั่นหมายถึงว่าเสาเข็มจะวางอยู่บนชั้นดินแข็ง จะทำให้ความสามารถการรับน้ำหนักของเสาเข็มได้ดีขึ้น และโอกาสการทรุดตัวของตัวบ้านจะมีน้อยลงและช้าลง
    หลักการสร้างบ้านโดยทั่วไป ควรใช้เสาเข็มให้ยาวลึกถึงชั้นดินแข็งจะได้แรงต้านทั้งสองส่วนช่วยพยุงให้บ้านมีความมั่นคงแข็งแรกว่า สำหรับบ้านที่มีเสาเข็มยาวไม่ถึงชั้นดินแข็ง ย่อมหมายถึงว่าน้ำหนักของบ้านจะมีเพียงแรงเสียดทานของดินชั้นบนรองรับเท่านั้น การทรุดตัวจึงเกิดขึ้นมากและเร็วกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นที่ดินที่เพิ่งถมมาไม่เกิน 1-2 ปี หรือที่ดิน ซึ่งเคยเป็นบ่อหรือบึงมาก่อน แรงเสียด ทานจะยิ่งน้อย อัตราการทรุดตัวก็จะยิ่งเร็วตาม 
    กรณีของดินในกรุงเทพฯ มีลักษณะชั้นดินเป็นดินเหนียวที่เกิดจากการตกตะกอนทับถม และมีความลึกประมาณ 15-23 เมตร แต่จะมีความลึกมากขึ้น บริเวณสมุทรปราการซึ่งมีความลึกของชั้นดินกว่า 28 เมตร
    วิธีการคิดคำนวณขนาดของฐานรากแผ่ คือเราต้องรู้ค่าการรับน้ำหนักของดินว่ารับน้ำหนักได้เท่าไรต่อพื้นที่สัมผัส ตัวอย่างเช่น ดินรับน้ำหนักได้ 5 ตัน/ตร.ม. และมีแรงกดลงที่ฐานรากซึ่งเกิดขึ้นจากโครงสร้างของอาคารเท่ากับ 10 ตัน ดังนั้น จะต้องทำฐานรากให้มีพื้นที่ผิวขนาด 2 ตร.ม. เป็นต้น

ในการสร้างบ้านถ้าใช้เสาเข็มลึกถึงชั้นดินแข็งและถ้ามีการต่อเติมห้อง ครัวและโรงจอดรถฯลฯการต่อเติมถ้าทำได้ควรจะใช้เสาเข็มลึกถึงชั้นดินแข็งด้วยเช่นกันเพื่อป้องกันการทรุดตัวที่แตกต่างกันระหว่างโครงสร้างเก่าและโครงสร้างใหม่ แต่ในทางปฏิบัติมักจะมีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ เพราะการตอกเสาเข็มให้ลึกถึงชั้นดินแข็งอาจต้องใช้พื้นที่และเครื่องตอกขนาดใหญ่ขึ้น จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้เสาเข็มกับส่วนต่อเติมไม่ว่า จะเป็นเสาเข็มสั้น หรือเสาเข็มยาวที่ลงลึกถึงชั้นดินแข็งนั้น มีเทคนิคและข้อพิจารณาตามแต่ละกรณีดังนี้

กรณีการใช้เสาเข็มสั้นกว่าอาคารเดิมซึ่งมีการใช้เสาเข็มยาวถึงชั้นดินแข็งในการต่อเติมอาคารใหม่จะทำให้ส่วนต่อเติมทรุดตัวมากกว่าอาคารเดิม และในกรณีพื้นที่จำกัดมากและเลือกใช้เสาเข็มยาวเท่ากับอาคารเดิมอาจเลือกใช้เสาเข็มเจาะ (Bore Pile) แบบ ”สามขา” หรือใช้เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงซึ่งมีขนาดสั้น (Pre-stressed Micro Pile)ตามลักษณะพื้นที่หน้างานมีความยาวประมาณตั้งแต่ 1.0 เมตร โดยสามารถนำมาตอกต่อกันเพื่อตอกให้ลึกไปถึงชั้นดินแข็งได้

ถ้าสามารถแยกโครงสร้างของส่วนต่อเติมจากโครงสร้างเดิมได้ควรกระทำถึงแม้จะใช้เสาเข็มขนาดความยาวเดียวกับอาคารเดิมเพราะเป็นการ ป้องกันการดึงรั้งกับโครงสร้างเก่าจนเกิดการทรุดตัวแบบเอียง"

นี่เป็นความเห็นจากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ในคำถามว่า ควรตอก เสาเข็มลึกเท่าไหร่ดี ซึ่งหากกล่าวโดยสรุปก็คือ ควรที่จะต้องตอกเสาเข็มลงไปจนถึงชั้นดินแข็ง เพื่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง และแต่ละพื้นที่ ชั้นดินแข็งอยู่ลึกตื้นไม่เท่ากัน หากต้องการทราบอย่างชัดเจน จะต้องมีการตรวจสอบวิเคราะห์ชั้นดินในพื้นซึ่งจะมีการก่อสร้างเสียก่อน ซึ่งก็จะทำให้ทราบได้อย่างชัดเจนว่าควร เลือกเสาเข็มยาวแค่ไหน และต้องตอกลงไปลึกเท่าไหร่ จึงจะถึงชั้นดินแข็ง ที่จะทำให้เกิดความมั่นคงแข็งแรงสำหรับอาคารของเรา

Rate this item
(3 votes)
Last modified on Saturday, 25 May 2019 09:35
บัญชา สมพงษ์สวรรค์

Author : เกาะติดเรื่องราวต่างประเทศ, การท่องเที่ยวต่างแดน, ข่าวในญี่ปุ่น, ข่าวในเกาหลี, สายการบิน, ศิลปะวัฒนธรรม, Likestyle, ไอเดียใหม่, เทคโนโลยีและสินค้าใหม่ๆ, ต่างชาติมองไทย ฯลฯ

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

AWC เผย Q3 ลงทุน 1 หมื่นล้าน กำไรพุ่ง 1.13 พันล้าน เชื่อมั่นพลังขับเคลื่อนความยั่งยืนกับพันธมิตรทุกภาคส่วน ร่วมสร้างไทยให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก

โครงการการพัฒนาระบบควบคุมการยิงเพื่อการดำรงสภาพยุทโรปกรณ์ ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40 มิลลิเมตร แอล 70

Double A เผยกำไรโตต่อเนื่อง 3 ไตรมาสแรก พุ่งขึ้นกว่า 2.5 เท่า เดินหน้าสู่ Net Zero ด้วย ESG ในปี 2050 วางโรดแมป ขับเคลื่อนธุรกิจ ลดโลกร้อน สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM