Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

การกำหนดสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ไม่เกินร้อยละ 60

นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ชี้แจงประเด็นการกำหนดสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ที่ไม่เกินร้อยละ 60 

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะขอชี้แจงว่าการกำหนดสัดส่วนหนี้สาธารณะดังกล่าวของไทยในปัจจุบันสอดคล้องกับการกำหนดเพดานหนี้สาธารณะต่อ GDP ในระดับสากล ไม่ว่าจะเป็นของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะต่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศและสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สัดส่วนนี้เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่กระทรวงการคลังใช้ในการบริหารหนี้สาธารณะตลอดมา โดยได้มีการทบทวนสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ตามพื้นฐานทางเศรษฐกิจและนโยบายการบริหารประเทศของรัฐบาล

ทั้งนี้ ปัจจุบันรัฐบาลยังจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวเพื่อรองรับการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคม และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นและพื้นที่ทางการคลังกรณีเกิดวิกฤติเศรษฐกิจหรือความผันผวนในระบบเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ จากการประมาณการในระยะ 5 ปีข้างหน้า พบว่า ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP ก็ยังคงอยู่ภายใต้เพดานร้อยละ 60

โดยที่พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มีผลบังคับและได้มีการกำหนดสัดส่วนทางการเงินต่างๆ เพื่อใช้เป็นกรอบในการบริหารหนี้สาธารณะ โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ได้ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน

ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่กำหนดเป็นเพียงกรอบความยั่งยืนทางการคลังเพื่อเป็นแนวปฏิบัติเท่านั้น และยังมีการกำหนดสัดส่วนทางการเงินอื่นๆ อีกเพื่อรักษาวินัยทางการคลัง ได้แก่ สัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการชำระหนี้ (Debt Affordability) และสัดส่วนหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อหนี้สาธารณะทั้งหมด รวมทั้งกระทรวงการคลังได้เพิ่มเติมการวิเคราะห์สัดส่วนภาระดอกเบี้ยของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ (Interest payment/Revenue) ซึ่งเป็น อีกตัวชี้วัดที่ธนาคารโลกได้แนะนำและใช้อย่างแพร่หลายในต่างประเทศเพื่อให้มั่นใจว่ารัฐบาลมีความสามารถ ในการชำระหนี้ทั้งในปัจจุบันและระยะปานกลางอีกด้วย 

นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมการมีวินัยทางการคลังให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น คณะกรรมการนโยบายการเงิน การคลังของรัฐได้มีประกาศเพื่อกำหนดสัดส่วนงบประมาณเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ (เงินต้น) ไว้ที่ร้อยละ 2.5 – 3.5 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การบริหารหนี้สาธารณะของไทยที่ได้มีการกำหนดสัดส่วนดังกล่าวไว้ในกฎหมาย เพื่อรักษาวินัยการเงินการคลังและสร้างความยั่งยืนทางการคลังในระยะปานกลางและระยะยาว 

ด้วยเหตุผลข้างต้นนี้ ระดับเพดานหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ร้อยละ 60 เป็นระดับที่เอื้อต่อการเติบโต ทางเศรษฐกิจของประเทศ รักษาวินัยทางการคลังและสามารถรองรับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ได้ รวมทั้งกรอบการบริหาร หนี้สาธารณะต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 จะช่วยให้การบริหาร หนี้สาธารณะเป็นไปด้วยความรอบคอบ คำนึงถึงความคุ้มค่า ความสามารถในการชำระหนี้ และเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยเกิดความยั่งยืนทางการคลัง (Fiscal Sustainability) ในระยะยาว

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Monday, 14 January 2019 06:29
ศุทธดา ศิริกรโสภณ

Author : เกาะติดข่าวการเงิน ธนาคาร หลักทรัพย์ การลงทุน ตราสารหนี้ กองทุน สกุลเงินตราต่างประเทศ ทองคำ การเกร็งกำไร ความเสี่ยงด้านการลงทุน ดอกเบี้ย และข่าวอื่นที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินและตลาดทุน

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

AWC เผย Q3 ลงทุน 1 หมื่นล้าน กำไรพุ่ง 1.13 พันล้าน เชื่อมั่นพลังขับเคลื่อนความยั่งยืนกับพันธมิตรทุกภาคส่วน ร่วมสร้างไทยให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก

โครงการการพัฒนาระบบควบคุมการยิงเพื่อการดำรงสภาพยุทโรปกรณ์ ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40 มิลลิเมตร แอล 70

Double A เผยกำไรโตต่อเนื่อง 3 ไตรมาสแรก พุ่งขึ้นกว่า 2.5 เท่า เดินหน้าสู่ Net Zero ด้วย ESG ในปี 2050 วางโรดแมป ขับเคลื่อนธุรกิจ ลดโลกร้อน สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM