Print this page

บริษัทผลิตชิ้นส่วนในญี่ปุ่น ตั้งเป้าใช้ 3D Printer แทนแม่พิมพ์ เปิดสายการผลิตสำหรับอากาศยานภายในปี 2022

การใช้ 3D Printer ในอุตสาหกรรมการผลิตจะมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่นบริษัทผลิต Precision Parts ในประเทศญี่ปุ่น  “Ifuku Seimitsu” ตั้งเป้า “เลิกใช้แม่พิมพ์” และเปิดสายการผลิตที่ใช้ 3D Printer ผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับอากาศยานภายในปี 2022

เพื่อที่จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลาย และทำให้สามารถผลิตชิ้นส่วนจำนวนน้อยได้มากขึ้น ทำให้บริษัทฯ สามารถเชื่อมโยงไปสู่การเติบโตของธุรกิจด้านอากาศยานได้

เดิมทีแล้ว Ifuku Seimitsu เป็นผู้ผลิต Precision Parts สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และเซมิคอนดัคเตอร์ด้วยเครื่อง Machining Center, Wire Cut EDM และอื่น ๆ โดยมีผลิตภัณฑ์หลักคือชิ้นส่วนเครื่องยนต์ แผงวงจร รวมไปถึงชิ้นส่วนอุปกรณ์การแพทย์

ส่วนชิ้นส่วนอากาศยานนั้นมอบหมายให้บริษัทลูกในประเทศจีนเป็นผู้ผลิต ซึ่งเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ในการผลิตเข็มขัดนิรภัยสำหรับเครื่องบินมาก่อน

เมื่อปี 2016 Ifuku Seimitsu ได้เข่าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ “Kobe Aero Network” องค์กรซึ่งมีเป้าหมายร่วมกันในการรับออเดอร์ชิ้นส่วนอากาศยาน ทำให้บริษัทมียอดขายสูงขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ด้วยแนวทางที่เปลี่ยนไปเป็นการเน้นขยายตลาดไปยังภาคอุตสาหกรรมอื่นเพิ่มเติม

กรรมการผู้จัดการบริษัท Mr. Kouji Matsuda กล่าวว่า “การตัดสินใจเข้าร่วมกับ Kobe Aero Network ทำให้บริษัทเราค้นพบเป้าหมายใหม่ คือการเข้าสู่อุตสาหกรรมอากาศยานอย่างจริงจัง” และเกิดแนวคิดการใช้ 3D Printer ในการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ซึ่งมีกำหนดการพัฒนากระบวนการผลิตและการตรวจสอบในอนาคต โดยเหตุผลที่ตัดสินใจใช้ 3D Printer คือ “การผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่องจักรแบบที่แล้วมาสิ้นเปลืองวัสดุและเวลามากเกินไป”

ในช่วงเวลา 3 ปีนับจากนี้ ทางบริษัทมีนโยบายจัดหา 3D Printer เพื่อติดตั้งในโรงงานจำนวน 4 เครื่อง เพื่อให้มีกำลังผลิตชิ้นส่วนครั้งละ 500 – 1,000 ชิ้นต่อล็อต และหลังลงทุนแล้วเสร็จ จึงจะทำการจัดหา 3D Printer เพิ่มเติมให้กับโรงงานในประเทศจีน และเริ่มผลิตชิ้นส่วนอากาศยานอย่างเต็มรูปแบบ

ที่มา : mreport

 

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 13:16
ชุติมา ธรรมเที่ยง

Author : เกาะติดข่าวขนส่งและโลจิสติกส์ การจัดการระบบขนส่ง หรือการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทั้งภาคพื้นดิน ทางเรือ และทางอากาศ รวมไปถึงกระบวนการจัดการและวางแผนสินค้าคงคลัง การจัดเก็บ การควบคุม และศุลกากร

Latest from ชุติมา ธรรมเที่ยง

Related items

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM