Print this page

Wildlife Justice Commission เผยแพร่รายงานตีแผ่การค้าเต่าน้ำจืดและเต่าบกอย่างผิดกฎหมายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กรุงเฮกเนเธอร์แลนด์ : เนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชั่นสากลที่กำลังจะมาถึง Wildlife Justice Commission (WJC) ได้เปิดเผยรายงาน Operation Dragon: Revealing new evidence of the scale of corruption and trafficking in the turtle and tortoise trade [1] ที่ลงรายละเอียดเกี่ยวกับปฏิบัติการสืบสวนระยะเวลาสองปี (2559-2561) 

เพื่อเปิดโปงการลักลอบค้าสัตว์เลื้อยคลานใกล้สูญพันธ์อย่างผิดกฎหมายในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ พร้อมตีแผ่การคอร์รัปชั่นที่เอื้อให้เกิดอาชญากรรมเหล่านี้

 

ระหว่างปฏิบัติการ Operation Dragon ทาง WJC ได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับ Wildlife Crime Control Bureau (WCCB) ของอินเดีย Department of Wildlife and National Parks Peninsular Malaysia (PERHILITAN) และ INTERPOL Environmental Crime Program การร่วมมือกันครั้งนี้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยสามารถทลายเครือข่ายค้าสัตว์ป่า เครือข่าย มีการจับกุม 30 ครั้ง และสามารถส่งผู้ค้าสัตว์ผิดกฎหมายเข้าคุกได้แล้ว ราย ส่วนผู้ต้องสงสัยอีกหลายรายกำลังรอการตัดสินคดี นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่สามารถยึดสัตว์เลื้อยคลานที่ยังมีชีวิตได้กว่า 6,000 ตัว ตั้งแต่สัตว์ที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้สูญพันธุ์ไปจนถึงสัตว์ที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์

 

Sarah Stoner ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายสืบสวนของ WJC กล่าวว่า

หลักฐานมากมายที่ได้มาจากการสืบสวนและการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวกรองของ WJC ทำให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับหน้าที่ของแต่ละบุคคลและการเคลื่อนไหวของเครือข่าย เจ้าหน้าที่จึงสามารถกำหนดเป้าหมายผู้กระทำผิดรายใหญ่ซึ่งได้ประโยชน์มากที่สุดจากการก่ออาชญากรรมนี้

นอกจากนี้ ปฏิบัติการ Operation Dragon ยังได้ตีแผ่การคอร์รัปชั่นซึ่งเอื้อให้เกิดการค้าเต่าน้ำจืดและเต่าบกอย่างผิดกฎหมายทั่วภูมิภาค การวิเคราะห์ข้อมูลข่าวกรองอย่างละเอียดเผยให้เห็นถึงการคอร์รัปชั่นอย่างเป็นระบบของเจ้าหน้าที่สนามบินและสถานีขนส่ง โดย “การจัดฉาก (ตามที่ผู้ลักลอบค้าสัตว์เรียก) ทำให้สามารถลักลอบขนส่งสัตว์ได้ครั้งละมากๆ ซึ่งลดความเสี่ยงในการถูกจับ

 

ในระหว่างปฎิบัติการ ฝ่ายสืบสวนของ WJC สามารถยึดเต่าน้ำจืดและเต่าบกได้มากกว่า 20,400 ตัว รวม 16 สายพันธุ์ตามที่ระบุในบัญชีหมายเลข และ ของ CITES ซึ่งรวมถึงชนิดที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ นอกจากนี้ WJC สามารถรวบรวมข้อมูลราคาซื้อขายสัตว์ที่อ้างอิงจากลิสต์ราคาของผู้ลักลอบค้าสัตว์เอง โดยพบว่ามูลค่าการค้าส่งที่มีการบันทึกและมีการเสนอนั้นสูงกว่า ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่มูลค่าการค้าปลีกน่าจะสูงกว่ามาก โดยตัวเลขดังกล่าวอิงจากราคาปัจจุบันที่มีการรวบรวมข้อมูลมาจากหลายประเทศเป็นระยะเวลานาน [2]


 

Sarah Stoner กล่าวเสริมว่า “ทีมงานของเรายังพบด้วยว่ามีการลักลอบค้าเต่าน้ำจืดพันธุ์หายากขึ้นและมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ และเนื่องด้วยจำนวนที่เหลือน้อยมาก เราเกรงว่าการเคลื่อนย้ายสัตว์ออกจากถิ่นที่อยู่จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการฟื้นตัว

Wildlife Justice Commission (WJC) ดำเนินงานทั่วโลกเพื่อช่วยสกัดและทลายเครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติที่ลักลอบค้าไม้ สัตว์ป่า และสัตว์น้ำ ด้วยการรวบรวมหลักฐานอันนำไปสู่การตรวจสอบ

 

[1] อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ http://www.wildlifejustice.org

[2] อธิบายเพิ่มเติมคือ ราคาค้าปลีกเต่าบึงดำลายจุดอยู่ที่ตัวละ 22 ดอลลาร์สหรัฐในอินเดีย, 140 ดอลลาร์สหรัฐในมาเลเซีย และ 300-400ดอลลาร์สหรัฐในฮ่องกง ส่วนราคาค้าส่งอยู่ที่ตัวละ 55 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ มูลค่าการค้าผิดกฎหมายที่บันทึกโดย WJC อ้างอิงจากราคาค้าส่ง ไม่ใช่ราคาค้าปลีกที่มีแนวโน้มว่าจะสูงกว่ามาก

ที่มา: Wildlife Justice Commission

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Wednesday, 19 December 2018 12:11
ทิพนาถ ทนุตระกูลทิพย์

Author : เกาะติดข่าวอเมริกา

Latest from ทิพนาถ ทนุตระกูลทิพย์

Related items

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM